|
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้าง
อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตพื้นที่ดังกล่าวให้มีน้ำทำการเกษตรและอุปโภค
- บริโภค ได้ตลอด
ปีและต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน
โดยให้พิจารณาก่อสร้างขยายพื้นที่ส่งน้ำ พร้อม
ทั้งขุดสระน้ำประจำไร่นา สำหรับน้ำเพิ่มเติมจากระบบท่อส่งน้ำตามแนวทฤษฏีใหม่
ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ขุดลอกลำห้วยต่าง ๆ และพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำพะยังเป็นช่วง ๆ
ในลักษณะขั้นบันไดตามความเหมาะสม และเมื่อ
วันที่ 22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ
ให้กรมชลประทาน พิจารณาก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บ
น้ำห้วยไผ่ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน มาส่งให้กับพื้นเพาะปลูกในเขตอำเภอเขาวง
โดยให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ของกรมป่าไม้น้อย
ที่สุดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงสู่พื้นที่การเกษตรลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน
จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงเป็นโครงการที่กรมชลประทานเห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนและได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา
ซึ่งประกอบด้วยบริษัท คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยได้เริ่มทำการศึกษาในเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2544 ระยะเวลาในการศึกษา 18 เดือน
สรุปลักษณะโครงการอุโมงค์ผันน้ำ
จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงสู่พื้นที่การเกษตรลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน
1) วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เพียงพอสำหรับพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ
ของพื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน และเป็นการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการใช้น้ำจาแหล่งที่พัฒนาไว้แล้วโดยกรมชลประทาน
2) ที่ตั้งโครงการ
ปากทางเข้าอุโมงค์ผันน้ำฝั่งอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อยู่ที่พิกัด 48 QVD 118
- 453 5842 III และปากทางออกอุโมงค์ผันน้ำ ฝั่งลุ่มน้ำลำพะยัง
อยู่ที่พิกัด 48 QVD 112 - 452 ระวางที่ 58472 III ในแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน
1: 50,000
3) ประเภทโครงการ
อุโมงค์พร้อมระบบผันน้ำ และระบบท่อส่งน้ำชลประทาน
4) อุทกวิทยาและการใช้น้ำ
- ปริมาตรฝนเฉลี่ยรายปี 1,432.0 มม.
- ปริมาตรความจุเก็บกักของอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ 10.50 ล้านลบ.ม.
- ปริมาณน้ำท่าไหลเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่เฉลี่ยรายปี 10.15 ล้าน ลบ.ม.
- ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีที่ผันจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงสู่พื้นที่การเกษตร
ลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน 8.08 ล้าน ลบ.ม.
- ปริมาณความต้องการน้ำพื้นที่ชลประทาน 7,900 ไร่ เฉลี่ยรายปี 7.99 ล้าน
ลบ.ม.
|
|
5) ระบบชักน้ำเข้าสู่อุโมงค์
- ลักษณะอาคาร คลองดินและระบบท่อ HDPE จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ถึงปากทางเข้าอุโมงค์ผันน้ำ
- ความยาว คลองดินยาว 750 เมตร และระบบท่อ HDPE ยาว 100 เมตร
- ระดับเริ่มต้น (ท้องคลอง) + 292.187 ม.รทก. 6) อุโมงค์ผันน้ำ
- ลักษณะอาคาร อุโมงค์ผันน้ำเจาะลอดใต้เข้าภูบักดี
- ขนาด กว้าง 3.0 เมตร สูง 3.0 เมตร ยาว 740 เมตร
- ระดับปากทางเข้าอุโมงค์ฝั่งอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ +292.40 ม.รทก.
- ระดับปากทางออกอุโมงค์ฝั่งลุ่มน้ำลำพะยัง + 215.00 ม.รทก .
7) ระบบส่งน้ำภายในอุโมงค์
- ลักษณะระบบส่งน้ำ เป็นระบบท่อผันน้ำด้วยท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1.30
เมตรในช่วง 50 เมตรแรก และทำการลดขนาดเส้นผ่านศูนย์เป็น 0.80 เมตร ยาวประมาณ
690 เมตร
- ปริมาณน้ำไหลผ่านท่อ 2.0 ลบ.ม./วินาที
8) ถังพักน้ำ
- ลักษณะอาคาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงกระบอก
- ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางฐานขนาด 20 เมตร สูง 8 เมตร
- ปริมาตรถังพักน้ำ 2,350 เมตร
- ระดับฐานถังพักน้ำอยู่ที่ระดับ +216.5 เมตร
9) ระบบชลประทาน
เป็นระบบท่อส่งน้ำชลประทาน ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 7,900 ไร่ ในลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนด้วยอัตรา
2.0 ลบ.ม./วินาที ประกอบด้วยท่อส่งน้ำสายใหญ่ ความยาว 3.512 กม. ท่อส่งน้ำสายซอย
จำนวน 3 สาย ความยาวรวม 8.426 กม. และท่อส่งน้ำสายแยกซอยจำนวน 6 สาย ความยาวรวม
10.552 กม. รวมความยาวท่อทั้งหมด 22.490 กม.
10) พื้นที่รับประโยชน์
พื้นที่การเกษตรลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 12,000 ไร่ ในบริเวณ
5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกุดตอแก่น บ้านแดนสามัคคี บ้านม่วงไข่ บ้านดงหมู่
และบ้านโนนสวรรค์ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่การเกษตรจะได้รับการพัฒนาให้ทำการเกษตรตามแบบทฤษฏีใหม่และ
ได้รับการขุดสระขนาด 5,000 ลบ.ม. .ในแปลงที่มีพื้นตั้งแต่ 8 ไร่ ขึ้นไปทุกแปลง
และได้รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ส่งผ่านท่อผันน้ำที่ว่างในอุโมงค์ ลงถังพักน้ำและกระจายน้ำโดยระบบท่อชลประทาน
ครอบคลุม พื้นที่ประมาณ 7,900 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่ผันได้และปริมาณ
การใช้น้ำในอนาคตเมื่อการจัดการน้ำดีขึ้นหรือเปลี่ยนแนวทางการจัดการน้ำ เช่น
กระจายโอกาสการได้รับน้ำของเกษตรกรทั้งหมด อาจนะสามารถวาง
ระบบท่อชลประทานจากถังพักน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรส่วนที่เหลือเพิ่มเติมอีก
4,100 ไร่
11) เศรษฐกิจและการเงิน
โครงการมีแผนการก่อสร้าง 3 ปี โดยส่วนประกอบเพื่อการก่อสร้างดำเนินการในปีแรกทั้งหมดส่วนอุโมงค์ผันน้ำและอาคารประกอบ
ระบบท่อชลประทาน
และงานขุดสระ งานถนนและงานระบบเติมน้ำลงสระ ใช้เวลาก่อสร้างต่อเนื่อง 3 ปี
ราคาค่าก่อสร้างประมาณที่ราคาคงที่ที่ปี 2544 มีมูลค่า 396 ล้านบาท
ถ้าพิจารณาตามราคาภาวะเงินเฟ้อร้อยละ 5 และเริ่มก่อสร้าง ปี 2546 จะเป็นมูลค่างานที่ต้องไปจัดทำงบประมาณ
447 ล้านบาท แบ่งเป็น 120 , 196 และ 131 ล้านบาท สำหรับปี 2546, 2547 และ
2548 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าทดแทนอุปกรณ์ ค่าบำรุงรักษา
และค่าการป้องกันแก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมผลประโยชน์ที่ได้จะเป็นมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดขึ้นเนื่องจากการมีน้ำชลประทานและการ
ส่งเสริมการเกษตรแนวทฤษฏีใหม่ ซึ่งเกษตรกรจะมีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มพื้นที่
โดยพื้นที่ที่ได้รับน้ำจากอุโมงค์มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 36,217 ถึง 102,167
บาท/ครัวเรือน/ปี ส่วนเกษตรกรในพื้นที่ไม่ได้รับน้ำจากอุโมงค์มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น
550 ถึง 21,191 บาท/ครัวเรือน/ปีโครงการมีความ
เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ โดยให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 40.5 ล้านบาท มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าลงทุน
ร้อยละ 1.13 โดยทั้งสองค่า
ใช้อัตราการคิดลดร้อยละ 12 ส่วนอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการเท่ากับร้อยละ
13.39
12) แหล่งน้ำต้นทุนของโครงการ
- อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ของโครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ซึ่งกรมชลประทานพัฒนาไว้แล้วจะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของโครงการ
- ชนิดเขื่อน เขื่อนดินแบบ HOMOGENEOUS
- ความสูงทำนบดิน 18 เมตร
- ความยาวทำนบดิน 970 เมตร
- ระดับท้องน้ำ +283.00 ม.รทก.
- ระน้ำเก็บกัก +298.00 ม.รทก.
- ระดับสันทำนบดิน +301.00 ม.รทก.
- ระดับน้ำสูงสุดในอ่างเก็บน้ำ +299.00 ม.รทก.
- ระดับน้ำต่ำสุดในอ่างเก็บน้ำ +291.00 ม.รทก.
- ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 10.50 ล้าน ลบ.ม.
- พื้นที่ผิวน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 1,535 ไร่
- ชนิดของอาคารระบายน้ำล้น CHUTE SPILL WAY
- ระดับสันอาคารระบายน้ำล้น +298.00 ม.รทก.
- ระดับธรณีท่อส่งน้ำ +291.00 ม.รทก.
- พื้นที่ชลประทานด้านท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ 1,600 ไร่
|
|
|