ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่  25  พฤศจิกายน  2535   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เสด็จที่อำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์   เพื่อสำรวจแหล่งที่จะสร้าง
อ่างเก็บน้ำ   สำหรับแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกแก่ราษฎร   โอกาสนั้นพระองค์ได้มีพระราชปฏิฐานกับราษฎรในละแวกนั้น
และทรงทอดพระเนตรผลผลิตข้าวของราษฎร ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พระองค์พบว่าข้าวของราษฎรมีลักษณะเป็นเมล็ดลีบเกือบทั้ง
หมดมีเมล็ดดีเพียง   2 - 3 เมล็ดต่อรวง   หากคิดเป็นปริมาณต่อไร่ก็ประมาณ 1 - 2 ถัง   สาเหตุเนื่องมาจากฝนตกไม่สม่ำเสมอหรือฝนทิ้งช่วง
ระยะข้าวกำเนิดช่อดอก  พระองค์จึงทรงคิดหาทางช่วยเหลือราษฎร  โดยรับสั่งให้จัดซื้อที่ดินในบริเวณนั้น(บริเวณบ้านกุดตอแก่น) ประมาณ
10 ไร่ เพื่อทำโครงการที่เป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านและนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง  ต่อมาได้มีราษฎรจำนวน 2 ราย  จะขอน้อมเกล้าถวาย
ที่ดินรายละ 5 ไร่ รวมเป็น 10 ไร่ เพื่อทำโครงการตามพระราชดำริ   และต่อมาอีกไม่นานก็มีราษฎรอีก  จำนวน 3 ราย  น้อมเกล้าถวายที่ดิน
รายละ 1 ไร่ เศษ  รวมพื้นที่ทั้งหมดเป็น 13 ไร่  3  งาน  กรมชลประทานได้พิจารณาจัดสร้างแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกโดยดำเนิน
การขุดสระเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่   เหมือนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า   ให้ดำเนินการที่  โครงการพัฒนาวัดมงคลชัยพัฒนา      อำเภอเมือง
จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า แม้มีพื้นที่ถือครองขนาดเล็ก  และมีสภาพแห้งแล้งก็สามารถจะพัฒนานำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อมา
เมื่อกรมชลประทานขุดสระเก็บน้ำ(ประมาณเดือนกันยายน 2536) คณะทำงานงานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ
จังหวัดสกลนคร  ก็ได้เข้าวางรูปแบบและดำเนินการในลักษณะทฤษฎีใหม่  เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ราษฎร  จนกระทั้งปัจจุบัน
ทฤษฎีใหม่คืออะไร
ทฤษฎีใหม่เป็นสูตรพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ ที่เน้นการกักเก็บน้ำในพื้นที่การเกษตร เพื่อใช้แก้ปัญหาภาวะการขาดแคลน น้ำทางการเกษตร มีการจัดสรรดินอย่างเป็นสัดส่วนตามอัตราส่วนที่กำหนดทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริ มีลักษณะเป็นการเกษตรแบบผสม สานแต่มีความชัดเจน
ในการกำหนดพื้นที่ เพราะโดยเฉลี่ยเกษตรกรของไทย จะมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ10 - 15 ไร่ ให้ จัดแบ่งไร่นาออกเป็น 3
ส่วน โดย : ส่วนแรก ประมาณร้อยละ 30 ให้ก่อสร้างสระกักเก็บน้ำขนาดเล็กเพียงพอที่จะบรรจุน้ำได้ประมาณ 19,000ลูกบาศ์กเมตร เลี้ยง
ปลาในสระ ปลูกพืชน้ำและปลูกพืชรอบขอบสระ : ส่วนที่สอง ประมาณร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ทำนาเพื่อบริโภคปลูกไม้ผลและพืชไร่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม : ส่วนที่เหลือ ประมาณร้อยละ 10 ก็จะใช้ปลูกสร้างบ้าน คอกสัตว์ ลานตาก ที่เก็บปุ๋ยและที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
แต่อย่าง
ไรก็ตาม ทฤษฎีใหม่ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่เนรมิตรความฝันได้โดยง่าย ทฤษฎีใหม่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีปัจจัยแต่งเสริม
หลายอย่างจึงจะประสบผลสำเร็จ และมีความมั่นคงยั่งยืน

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่
1. เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย (ประมาณ 15 ไร่)ซึ่งเป็นที่ถือครอง โดยเฉลี่ยของเกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไป
2 . ให้เกษตรกรมีความเพียงพอโดยเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ต้องมีความ สามัคคีกันในท้องถิ่น
3 . มีข้าวบริโภคเพียงพอประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5 ไร่ จ ะมีข้าวพอกินตลอดปี
4 . เพื่อการนี้จะต้องใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยที่ว่า ต้องมีน้ำใช้ระหว่างช่วงฤดูแล้ง 1,000 ลูกบาศ์กเมตร ต่อ 1 ไร่

ที่ตั้งโครงการและสภาพพื้นที่
โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน      ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านบ้านแดนสามัคคี  อำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์   อยู่ติดกับถนนเชื่อม
ระหว่างบ้านแดนสามัคคี และหมู่บ้านดอนไม้คุ้ม  ห่างจากหมู่บ้านแดนสามัคคี ประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณโครงการมีพื้นที่ทั้งหมด 13 ไร่ 3
งานสภาพพื้นที่เป็นท้องทุ่งลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย  ดินในพื้นที่เป็นดินชุดร้อยเอ็ด  มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำจากผลการวิเคราะห์ดิน    โดย
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 พบว่าดินมีสภาพเป็นกรด มีค่า PH 5.1 มีอินทรีย์วัตถุต่ำมาก คือ 0.52 %  ธาตุอาหารฟอสฟอรัสน้อย
คือ 8.8 ppm  และธาตุอาหารโปแตสเซี่ยม  52.2  ppm
หน่วยงานรับผิดชอบ
สำนักงาน กปร.  งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ  จังหวัดสกลนคร และหน่วยงานราชการอื่น ๆ
การดำเนินการ
กรมชลประทานได้ดำเนินการขุดสระเก็บน้ำ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2536 สระมีขนาด 50x98 ตารางเมตร มีความลึก 4 เมตร ซึ่งสามารถบรรจุน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศ์กเมตร น้ำในสระได้มาจากน้ำจากฝนเพียงแห่งเดียวคณะทำงานจากงาน
ศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ได้เข้ามาดำเนินงาน
หลังจากขุดสระเก็บน้ำเสร็จ โดยแบ่งพื้นที่ 13 ไร่ 3 งาน เป็น 4 ส่วน ดังนี้
1 . สระน้ำ มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ใช้เป็นแหล่งน้ำในการเกษตร, อุปโภค และเลี้ยงปลา
2 . นา มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ใช้ปลูกข้าวและพืชไร่หลังนา
3 . พื้นที่ปลูกไม้ผล , พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่
4 . พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย , ถนน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งานการดำเนินการจะเป็นในรูปแบบเกษตรกรรมผสม
ผสานมีการปลูกพืชร่วมกัน , เลี้ยงหมูร่วมกับการเลี้ยงปลา โดยเน้นการใช้ปัจจัยจากพื้นที่

ผลการดำเนินงาน
1.งานข้าว ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกข้าวนาน้ำฝน ฤดูฝนปี 2538 ใช้พันธุ์ข้าว 3 พันธุ์ ปลูกโดยวิธีหว่านและ ปักดำ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร (16-16-8) รองพื้น อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ และแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กก./ไร่ ในระยะข้าว กำเนิดช่อดอก พื้นที่ปลูก รวม 2 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา ได้ผลผลิตรวม 1,148.5 กิโลกรัม หรือ 470 กิโลกรัม/ไร่ ถ้าจำหน่าย ข้าวเปลือกในราคากิโลกรัมละ 4.50 บาท จะมีมูลค่ารวม 5,168.25 บาท/ไร่
 
2.การปลูกพืชไร่หลังนา ศึกษาความเป็นไปได้การปลูกพืชไร่ฝักสดหลังนา ในสภาพพื้นที่เกษตรใช้น้ำฝน บ้านแดนสามัคคี อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เกษตรกรจะปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์ กข 6 ข้าวเหนียวสันป่าตอง และข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 เพียงเล็กน้อย และ จะเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่นั้น จะมีการขุดสระเก็บน้ำในเนื้อที่ 30 % ของพื้นที่ เพื่อใช้ในการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ในระหว่างการเพาะปลูกข้าว นอกจากนี้น้ำที่เหลือใช้ ได้กลับมาพัฒนาการปลูกไม้ผล พืชผัก และพืชไร่ในฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าว ดังนั้นจึงได้ศึกษาความเป็นไปได้การปลูกพืชไร่ฝักสด ได้แก่ ข้าวโพดหวานพิเศษ ฮาวาย-เฮี้ยน ถั่วพุ่มพันธุ์ KVC 7 และถั่วลิสง พันธุ์ไทนาน-9 ในสภาพนาไม่มีการเตรียมดิน โดยขุดหลุมปลูกข้าวตอซัง โดยปลูกช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม 2538ผลของการศึกษาพบว่าข้าวโพดหวานพิเศษ ให้ความสูงเฉลี่ย 153 เซนติเมตร ให้การติดฝัก1 ฝักต่อต้น % การติดฝักดี 85% มี % ฝักเสีย เนื่องจากการหักล้มและถูกหนูทำลาย 15 % ฝักอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและขนาดใหญ่ มีความยาวฝัก 26 เซนติเมตร ให้ ผลผลิตฝักที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางและ
ขนาดใหญ่ มีความยาวฝัก 26 เซนติเมตร ให้ผลผลิตฝักสดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตลาด 7,200 ฝัก/ไร่ ถั่วพุ่มฝักสดพันธุ์ KVC 7 ให้ความสูงถึงทรงพุ่ม 66 เซนติเมตร จำนวน 12 ฝัก/ต้น ฝักดี 100 % ไม่พบโรคราที่ฝักที่มีหนอน เจาะฝักเพียงเล็กน้อย ความยาวฝัก 22 เซนติเมตร ให้ผลผลิตฝักสด 858 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับถั่วลิสงฝักสดให้ความสูง 29 เซนติเมตร จำนวน 16 ฝักต่อต้น มีฝักเต็ม 66% และพบว่ามีฝักเสียเนื่องจากฝักอ่อนและเสี้ยนดิน 34 % ให้ผลผลิตฝักสด 240 กิโลกรัม
ในลักษณะของเกษตรกรที่ปฏิบัติไร่นาส่วนใหญ่จะใช้แรงงานในครัวเรือน แต่เมล็ดพันธุ์จะซื้อจากทางราชการ หรือร้านค้า เมื่อวิเคราะห์ผลการกำไรขาดทุน พบว่าการปลูกข้าวโพดฝักสดจะให้กำไรสุทธิสูงสุด 7,040 บาท และมีการปฏิบัติและการดูแลรักษาน้อย กว่าถั่วพุ่ม สำหรับถั่วลิสง จะให้รายได้สุทธิต่ำสุด เมื่อสำรวจความชอบของเกษตรกร เกษตรกรยอมรับการปลูกข้าวโพดฝักสด ถั่ว ลิสงฝักสดมากกว่าการปลูกถั่วพุ่ม เพราะตลาดของถั่วพุ่มแคบ และถั่วพุ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงมากกว่า มีการดูแลรักษาและพ่น สารเคมีมากกว่า เมื่อคำนึงถึงการผลิตแล้วถั่วลิสง จะมีการใช้แรงงานมากกว่าข้าวโพดฝักสด และถั่วพุ่มฝักสดในช่วงเก็บเกี่ยว เพราะว่า ถั่วลิสง จะต้องถอน ปิดฝักและทำความสะอาด ถ้าขายรูปเมล็ด
แห้งก็ต้องตากแดด ดังนั้นถั่วพุ่มอาจจะเป็นทางเลือกใหม่เพื่อ ทดแทน ถั่วลิสง เมื่อขาดแรงงานในครอบครัวและถ้าตลาดถั่วพุ่มกว้างมากกว่านี้
3.งานพืชสวน บริเวณที่ดอน พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ปฏิบัติดูแลรักษ,ใส่ปุ๋ย,พรวนดิน,คลุมโคลน,รดน้ำ,ปลูกซ่อมและตอนกิ่งไม้ผล และพืชรวมต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ไม้ผลหลัก ได้แก่ ขนุน มะพร้าว กระท้อน มะขาม ละมุด มะกอกน้ำ มะม่วง ไผ่ตง
3.2 ไม้ผลรอง (ปลูกร่วมไม้ผลหลัก) ได้แก่ มะนาว น้อยหน่า ส้มโอ ฝรั่ง
3.3 พืชพื้นเมืองและไม้ดอกไม้ประดับ
-งานดูแลรักษา ได้แก่ ชะอมหวาน แค ตะไคร้ มะลิ บานไม่รู้โรย และหวาย
-ปลูกเพิ่มในปี 2539 ได้แก่ นุ่น สะเดา ขี้เหล็ก มะขามป้อม มะเขือพวง ข่า กระชาย และถั่วพุ่ม
3.4 พืชสวน พืชผักอายุสั้นที่ปลูก เช่น มะเขือเทศ ผลสดพันธุ์สีดาทิพย์ โดยปลูกแซมแปลงมะม่วง (ระหว่างแถว) พื้นที่ 650 ตารางเมตร ปลูกช่วงระยะเดือน มิถุนายน 2539 - สิงหาคม 2539 ได้ผลผลิตรวม 261 กก. (642.4กก./ไร่) มีรายได้ทั้งหมด 2,695 บาท/พื้นที่ปลูก กำไรสุทธิ 2,195 บาท/พื้นที่ 5,403 บาท/ไร่ หมายเหตุ : จำหน่ายมะเขือเทศผลสด ในราคากิโลกรัมละ 10-15 บาท
 
4.งานปศุสัตว์ เลี้ยงสุกรพันธุ์เหมยซาน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่ายและให้ลูกดก จำนวน 3 ตัว(เป็นแม่พันธุ์) โดยสร้างคอกบน สระเก็บน้ำขนาด 2X4
วัตถุประสงค์ : เพื่อขยายพันธุ์ และใช้ข้อมูลเป็นอาหารปลา/ปรับปรุงคุณภาพน้ำช่วงระยะ ตค.38 - กย.39 เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ พันธุ์เหมยซาน จำนวน 2 ตัว ให้อาหารโดยใช้ รำ,เศษผักที่มีในพื้นที่ เช่น ผักบุ้ง,มันสำปะหลัง และเศษอาหาร ปรากฏว่า มีมูลค่า ทั้งหมด 6,300 บาท มีต้นทุนผันแปร 2,735 บาท ดังนั้นกิจกรรมการเลี้ยงสุกร จะได้ผลตอบแทนทั้งสิ้น 3,565 บาท/ปี
5.สระเก็บกักน้ำ พื้นที่ 3 ไร่ มีความลึก 4 เมตร สามารถจุน้ำได้ประมาณ 10,000 - 12,000 ลูกบาศก์เมตร รับน้ำฝนเพียง อย่างเดียว ใช้น้ำจากสระ
กับกิจกรรมทางการเกษตรในบริเวณพื้นที่โครงการ โดยใช้กับข้าวในระยะทิ้งช่วง ส่วนฤดูแล้งใช้กับไม้ผล พืชผัก และพืชไร่หลังนา ผลการใช้น้ำจาก
สระในรอบ 3 ปี ปรากฏว่าน้ำที่เก็บกัก ไว้ในสระ ในรอบ 1 ปี มีความเพียงพอ ในการนำ ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการ ซึ่งทั้งนี้การจัดสรรกิจกรรม
ต้องเป็นไปอย่างละเอียด ประณีต เช่น การปลูกพืชควรเน้นปลูกพืชที่มี ความต้องการน้ำในปริมาณน้อย และใช้น้ำไม่ฟุ่มเฟือย เป็นต้น จากการตรวจวัด
ระดับน้ำในช่วงแล้งที่สุด (เดือนเมษายน) ระดับน้ำวัด ได้จากก้นสระถึงระดับผิวน้ำ ความลึกของน้ำในสระอยู่ระหว่าง 1.50-1.75 เมตร แสดงว่าน้ำ
ที่เก็บกักไว้ในสระจะเหลือใช้ประโยชน์ (เมื่อถึงฤดูฝนในปีถัดไป) ประมาณ 4,000-5,000 ลูกบาศก์เมตร
สระน้ำนอกจากจะเก็บกักน้ำไว้ใช้แล้วยังสามารถ
ปล่อยปลาได้อีก ปลาที่ปล่อย ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลานวลจันทร์ เทศจำนวนปลาที่ปล่อยประมาณ 20,000 ตัวต่อบ่อ โดยปล่อยตั้งแต่ระยะ
ขุดสระเสร็จ (ประมาณเดือนสิงหาคม 2536) ให้อาหาร โดยทำ ปุ๋ยคอกหมักที่มุมบ่อ ขนาด 1.50 - 1.50 เมตร จำนวน 2 คอก และมูลสุกร ขณะนี้ยัง
ไม่ได้เก็บผลผลิต เนื่องจากสระมีความลึกมาก จับปลาลำบาก คาดว่าจะเก็บผลผลิตจำหน่ายช่วงระยะฤดูแล้งปี 2540

สรุป
ในโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน   บ้านแดนสามัคคี   อำเภอ เขาวง      จังหวัดกาฬสินธุ์ดำเนินมาเป็นเวลา 3  ปี  ได้พิสูจน์พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฏี
ใหม่ว่ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำในการเกษตร ข้าวที่ปลูกไม่ประสบปัญหาขาดน้ำตลอดฤดูปลูกเพราะสามารถ รับน้ำจากสระได้
ส่งผลให้ข้าวเพิ่มผลผลิตจากเดิมประมาณ 70% ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกร สามารถปลูกข้าวในพื้นที่จำกัด แต่ได้ผลผลิตเพียงพอสำหรับบริโภคตลอดปี น้ำที่เหลือจากการปลูกข้าวก็สามารถนำไปใช้ในการปลูกพืชไร่หลังนาและไม้ผล ได้พืชไร่ใมารับประทานฝักสดเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ เนื่อง จากเกษตรกรสามารถใช้บริโภคและขายได้ในตลาดท้องถิ่น โดยเฉพาะข้าวโพดฝักสดให้รายได้สุทธิสูงเหมาะสม ส่วนสุกรพันธุ์เหมยซานเป็นพันธุ์ที่เลี้ยง
ง่าย โดยใช้อาหารในพื้นที่ ของเสียจากสุกรสามารถเป็นแหล่งอาหารของปลาที่เลี้ยงในสระอีกด้วย ส่วนไม้ผลที่ปลูกในพื้นที่คาดว่าเป็นรายได้แหล่งใหญ
่ในอนาคตของเกษตรกร และเกษตรกรสามารถใช้ผลิตผลจากพื้นที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพและเพิ่มรายได้ โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากแหล่งอื่น
กลับหน้าแรก