|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมื่อวันที่
25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
บ้านกุดสิม ตำบลคุ้มเก่า อำเภอ เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศลำพะยัง
ที่บ้านกุดตอแก่น และที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ ห้วยสายนาเวียง ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน(ห้วยวังคำ)
บ้านดงหมู ตำบลคุ้มเก่า บ้านนาวีตำบล
สงเปลือย อำเภอเขาวง เพื่อช่วยเหลือราษฎรใน เขตพื้นที่ดังกล่าวให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคตลอดปีนอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอุทกภัยการเกี่ยว
ในพื้นที่ตอนล่างได้อีกส่วนหนึ่ง
และเมื่อวันที่
16 พฤศจิกายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณา
ดำเนินการ
เกี่ยวกับ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างเขื่อนเก็บกัก น้ำขนาดความจุ
3.5ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบเสร็จ และในปี 2539 จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะ
ปลูก ประมาณ 2,500 ไร่ ดังนี้
|
|
1)
ควรพิจารณาก่อสร้างขยายพื้นที่ส่งน้ำ พร้อมทั้งขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา สำหรับน้ำเพิ่มเติม
จากระบบท่อส่งน้ำดังกล่าวตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้สามารถขยายพื้นที่รับน้ำชลประทาน
ช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตตำบลคุ้มเก่าและตำบล สงเปลือยรวมทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
ซึ่งปัจจุบันมีสภาพแห้งแล้งขาดแคลนน้ำทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคเป็นอย่างมาก
2)
ควรพิจารณาก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
พร้อมกับก่อสร้างระบบผันน้ำเพิ่มเติมให้แก่อ่างเก็บน้ำ
ลำพะยังตอนบน ซึ่งมีปริมาณน้ำต้นทุนจำกัด แต่มีพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทำการเกษตร
เป็น จำนวนมาก เมื่อดำเนินการแล้วจะสามารถมี น้ำส่งช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนได้เพิ่มมากขึ้น
|
|
|
- 3)
ควรพิจารณาขุดลอกลำห้วยต่าง ๆ พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำห้วย
เพื่อเก็บน้ำนอนคลองไว้ให้ราษฎรบริเวณริมสองฝั่ง ใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี
และสามารถรับน้ำเพิ่มเติมจากระบบท่อส่งน้ำ
จากอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนได้ตามความเหมาะสม
- 4)
ควรพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำพะยังเป็นช่วง ๆ ในลักษณะขั้นบันไดตามความเหมาะสม
เพื่อเก็บกักน้ำให้ราษฎรบริเวณ ริมสองฝั่งใช้ทำการเกษตรและอุปโภค - บริโภคได้ตลอดปี
โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อวันที่
22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อธิบดีกรมชลประทานและ
เลขา
ธิการ กปร. นำคณะเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและกปร.
เข้าเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงานความก้าวหน้าโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ในภาคตะ
วันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้กรมชลประทานดำเนินการดังนี้ คือ
-
1)
ให้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
มาส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูก ในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยให้เกิดผลกระบทต่อพื้นที่ของ
กรมป่าไม้น้อยที่สุดและหากการก่อสร้างไปทำให้พื้นที่ของกรมป่าไม้เสียหาย
ให้ทำการ ปลูกป่าทดแทนให้กรมป่าไม้ด้วย
- 2)
ระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วย ไผ่ ที่จะส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ยอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่
ให้พิจารณารูปแบบใหม่ที่ ประหยัดกว่านี้ เนื่องจากส่งน้ำให้พื้นที่ได้เป็นพื้นที่แคบ
ๆ ขนานไปกับลำห้วยไผ่เท่านั้น เช่นทำเป็นฝายทดน้ำแบบถูกๆ เป็นช่วงๆ
ในลำห้วย ไผ่และปล่อยน้ำริน ๆ จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงมาเติมหน้าฝายแทน
- 3)
ให้ยกระดับเก็บกักของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ให้เก็บน้ำได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในบริเวณนี้ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่เลย
มื่อยกระดับเก็บกักขึ้น
แล้วเหากปริมาณน้ำไม่เต็มอ่างฯ
ให้พิจารณาต่อท่อผันน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจาก อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มาเติมให้เต็ม
ถ้ามารถต่อท่อมาได้
-
-
|
|
|
- การดำเนินงานในส่วนของกรมชลประทาน
- อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน
มีอาคารหัวงานเป็นลักษณะทำนบดิน (พิกัด 48 QVD 121-418 ตามแผนที่มาตราส่วน
1:50,000 ระวาง 5842 III ) สูง 16 เมตร ยาว 725 เมตร เริ่มก่อสร้างปี 2537
เสร็จเรียบร้อย และสามารถเก็บกักน้ำได้ในปี 2538 เต็มตามความจุ ของอ่างฯ
3.50 ลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายยาว 5 กิโลเมตร
ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 แ ละก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา
ยาว 2.75 กิโลเมตร พร้อมท่อส่งน้ำสายซอยจำนวน 4 สาย ความยาวประมาณ 7.00
กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ ในปี 2541
(ในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน4,600
ไร่ )ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา ความจุประมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตร
โดยเริ่มดำเนินการในปี 2539 จำนวน 5 สระปี 2540 จำนวน 13 สระ ปี 2541จำนวน
40 สระ ปี 2542 จำนวน 42 สระ
( ในเขตพื้นที่โครงการ
พัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน 11,600 ไร่)
งานที่ดำเนินการก่อสร้างในปี
2543
1)
ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา ความจุประมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 9 สระ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
( ในเขตพื้นที่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน 11,600 ไร่ รวมขุดสระตั้งแต่ปี
2539 - 2543 เสร็จไปแล้วจำนวน 109 สระ)
2)
ดำเนินการยกระดับเก็บกักของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ขึ้นอีก 0.80 เมตร ทำให้
เก็บกักน้ำได้เพิ่มอีก0.50 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สามารถเก็บกักน้ำได้ทั้งหมดประมาณ
4.00 ล้านลูกบาศก์เมตร
(16 มิถุนายน 2543)ของบจาก กปร. มาดำเนินการ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จในปีงบประมาณ
2543
3)
เตรียมงานเบื้องต้นพื่อทำการก่อสร้างอุโทงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่
จังหวัดมุกดาหาร มาลงพื้นที่โครงการพัฒนา
ลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่การก่อสร้างถนน เพื่อเข้าทำการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำฯ
ทั้งจากฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์มา
เชื่อมกับปลายอุโมงค์และจากฝั่งจังหวัดมุกดาหาร มาเชื่อมกับปากทางเข้าอุโมงค์
-
งานที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อการก่อสร้าง
-
- 1)
อุโมงค์ผันน้ำพร้อมระบบท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พิกัด 48Q VD 146 - 445 ตาม แผนที่
มาตราส่วน1:50,000 ระวาง 5842 III ความจุ 10.50 ล้านลูกบาศก์เมตร) อำเภอดงหลวง
จังหวัดมุกดาหาร เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่
เพาะปลูกในเขต อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนี้
-
-
- *
อุโมงค์ผันน้ำ งบประมาณ 125 ล้านบาท ประกอบด้วย.
-
-
-
- -
ร่องชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ถึงปากท่อผันน้ำ ยาว 750 เมตร
-
-
-
- -
อุโมงค์ผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.00 เมตร ยาว 710 เมตร
-
-
-
- -
ท่อผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร ยาว 1,020 เมตร
-
-
-
- -
ถังพักน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร
-
-
-
- -
สถานภาพโครงการฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จากกรมป่าไม้เพื่อดำเนินการก่อสร้าง
หากได้รับอนุญาตจะสามารถ
ดำเนินการก่อสร้างได้ทันที
-
-
- *
ระบบท่อส่งน้ำให้พื้นที่โครงการที่รับน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่
ประกอบด้วยท่อส่งน้ำสายใหญ่ ฝั่งซ้ายความยาว 8.600 กิโลเมตร และท่อส่งน้ำสายซอย
จำนวน 11 สาย ความยาว 27.500 กิโลเมตร ในพื้นที่โครงการประมาณ 7,000 ไร่
งบประมาณ 230-ล้านบาท
-
-
- *
ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นาตามแนวทฤษฎีใหม่ ตามความต้องการของราษฎร ความจุประมาณ
5,000 ลูกบาศก์เมตร ที่เหลือประมาณ 700 สระ งบประมาณ 52.5 ล้านบาท
-
- 2)
ก่อสร้างฝายทดน้ำในลำห้วยไผ่แทนการส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำ และชี้แจ้งให้ราษฎรเข้าใจในรูปแบบการส่งน้ำใหม่
พร้อมทั้งพิจารณานำหินที่ได้จากการระเบิดอุโมงค์ และร่องชักน้ำมาทำการก่อสร้างฝาย
-
- 3)
พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำพะยังและลำน้ำสาขา พร้อมงานขุดลอกลำน้ำประมาณ
30 กิโลเมตร ตามความเหมาะสม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ระยะเวลาก่อสร้าง
เนื่องจากมีปัญหาในการขอใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง
จึงจำเป็นต้องขยายระบบเวลาดำเนินการของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจากพระราช
ดำริ จาก 8 ปี เป็น 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2537 จะแล้วเสร็จในปี
2549 ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 660 ล้านบาท
การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและกิจกรรมต่อเนื่อง
กรมชลประทาน
ได้รณรงค์ให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานของโครงการ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านนาวี
บ้านดอนฮูฮา บ้านดอนจะหราบ
ตำบลสงเปลือย
และบ้านโนนสูงตำบลคุ้มเก่า จำนวน 862 ครัวเรือน ได้เกิดความรักความหวงอ่างเก็บน้ำ
ระบบท่อส่งน้ำต่างๆ โดยปัจจุบัน ได้จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ กำหนดพื้นที่เพาะปลูก
และจัดประชุมสัมมนา ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในฤดูแล้ง สามารถ จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเสร็จในเดือนเมษายน
2542
|
|
|
|
|
|
|
|
-
รายละเอียดข้อมูล
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบลกกตูม
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
เรื่องเดิม
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่
เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2535 ทรงไปนมัสการพระราชนิโรธรังสี
คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เจ้าอาวาสวัดหินหมากเป้ง
บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพพื้นที่บริเวณแม่น้ำ
ห้วยทอนตอนบนในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ
และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร
เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตโครงการ ตลอดจนการผันน้ำไปช่วยเหลืออ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนและ
หมู่บ้านใกล้เคียง ให้มีน้ำ ทำ
การเกษตรและอุปโภค-บริโภค
สถานที่ก่อสร้างโครงการ
หัวงานโครงการตั้งอยู่ที่
บ้านแก่งนาง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พิกัด 48 QVD 146
- 445 ระวาง 5842 III ในแผนที่ 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร
-
การดำเนินการการก่อสร้าง
การดำเนินการก่อสร้างโครงการ เป็นงานที่กรมชลประทานดำเนินการเอง ก่อสร้างและควบคุมงานโดยฝ่ายก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กที่
5 เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2539แล้วเสร็จและเก็บกัก
น้ำได้ในปีงบประมาณ 2540
-
ลักษณะโครงการ
- พื้นที่รับน้ำฝนเหนือจุดที่ตั้งโครงการ
16.70 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,614.00 มิลลิเมตร
ปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่อ่างฯ
7,897,430.00 ลบ.ม./ปี
ปริมารน้ำสูงสุดที่ผ่านอาคารทางระบายน้ำล้น
50.10 ลบ.ม./วินาที
ความจุอ่างเก็บน้ำความจุที่ระดับเก็บกัก
10.50 ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับต่ำสุด
0.60 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนดินสูง
18.00 เมตร
เขื่อนดินยาว
970.00 เมตร
ระดับสันเขื่อน
+301.000 เมตร (รสม.)
ระดับน้ำสูงสุดในอ่างเก็บน้ำ
+299.000 เมตร(รสม.)
ระดับน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำ
+298.000 เมตร(รสม.)
ระดับน้ำต่ำสุดในอ่างเก็บน้ำ
+290.000 เมตร(รสม.)
พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก
1,535.00 ไร่
-
ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ เพื่อการอุปโภค-บริโภค เสริมการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ ประมาณ 2,500 ไร่ ราษฎร 3 หมู่บ้าน รวมประมาณ
140 ครัวเรือน
ผลการดำเนินงาน
ปี
2539 - ปี 2540 เริ่มดำเนินการก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ แล้วเสร็จ
100% สามารถเก็บกักน้ำได้ตามเป้าหมาย
กลับหน้าแรก
|
|